การตรวจความแรงของการถ่ายปัสสาวะ
ความผิดปรกติของการถ่ายปัสสาวะที่มักเป็นเหตุให้ผู้ป่วยมาพบแพทย์ ได้แก่ ความแรงของการถ่ายปัสสาวะที่เปลี่ยนไป ซึ่งนอกจากแพทย์จะซักประวัติ และ ตรวจร่างกายแล้ว การการตรวจความแรงของการถ่ายปัสสาวะที่ถือเป็นการตรวจประเมินอัตราการไหลของน้ำปัสสาวะ โดยเทคโนโลยีการตรวจที่ทันสมัย แต่ไม่ยุ่งยากซับซ้อนนี้สามารถแปลงข้อมูลจากการบอกเล่าของผู้ป่วยออกมาเป็นรูปแบบที่มองเห็นได้ ง่ายต่อการวางแผนการรักษา และยังสามารถใช้ในการสื่อสารระหว่างผู้ป่วยกับแพทย์ผู้ให้การรักษาอีกด้วย
การตรวจความแรงของการถ่ายปัสสาวะเหมาะสมกับใคร?
การตรวจความแรงของการถ่ายปัสสาวะมีประโยชน์ในการวินิจฉัย การวางแผนการรักษา และ การติดตามผลการรักษา ในผู้ป่วยหลายกลุ่ม เช่น กลุ่มทางเดินปัสสาวะตีบตัน (โรคต่อมลูกหมากโต ท่อปัสสาวะตีบ เป็นต้น) กลุ่มกระเพาะปัสสาวะพิการ (ผู้ป่วยเบาหวาน โรคทางสมองและไขสันหลัง) กลุ่มการถ่ายปัสสาวะผิดปรกติจากภาวะอุ้งเชิงกรานหย่อนในสตรี เป็นต้น ซึ่งโดยปรกติแล้วผู้หญิงจะมีความแรงในการถ่ายปัสสาวะมากกว่าผู้ชาย กล่าวคือประมาณ 20-25 มิลลิลิตรต่อวินาที ส่วนผู้ชายประมาณ 18-20 มิลลิลิตรต่อวินาที โดยเฉพาะเมื่อย่างเข้าสู่อายุที่มากขึ้น เนื่องมาจากผู้ชายมักประสพกับปัญหาต่อมลูกหมากโต แล้วขวางทางเดินปัสสาวะ ส่งผลให้ปัสสาวะได้เบาลง ไม่ต่อเนื่อง ต้องเบ่ง เป็นต้น และเมื่อไรที่ค่าความแรงของการถ่ายปัสสาวะที่ต่ำกว่า 10 มิลลิลิตรต่อวินาที จะถือว่ามีค่าต่ำผิดปรกติอย่างชัดเจน
การตรวจความแรงของการถ่ายปัสสาวะตรวจยุ่งยากไหม?
การตรวจความแรงของการถ่ายปัสสาวะสามารถทำได้ง่ายๆ โดยเครื่องมือที่ใช้ในการตรวจนี้คือ เครื่อง Uroflowmeter ซึ่งสามารถวัดอัตราการไหลของน้ำปัสสาวะเป็นหน่วย มิลลิลิตรต่อวินาที และยังสามารถบันทึกรูปแบบการไหลออกมาเป็นกราฟเส้นได้อย่างแม่นยำ ชัดเจน ส่วนขั้นตอนในการตรวจนั้นทำได้ง่ายๆไม่ต่างจากการถ่ายปัสสาวะในชีวิตประจำวันของผู้ป่วย กล่าวคือ ผู้ป่วยจะต้องรอให้ปวดปัสสาวะเหมือนกับปรกติ จากนั้นไปถ่ายปัสสาวะเข้าสู่กรวยรับที่วางอยู่ในตำแหน่งเดียวกับโถปัสสาวะแบบนั่งชักโครก จากนั้นผู้ป่วยจึงไปถ่ายปัสสาวะ โดยทั่วไปผู้ป่วยชายจะตรวจในท่ายืน ส่วนผู้หญิงหรือผู้ป่วยที่ไม่สามารถยืนได้ ก็จะตรวจในท่านั่ง จากนั้นเป็นอันเสร็จเรียบร้อย
การตรวจความแรงของการถ่ายปัสสาวะมีประโยชน์อย่างไร
การตรวจความแรงของการถ่ายปัสสาวะมีประโยชน์ในการวินิจฉัย การวางแผนการรักษา โดยค่าความแรงสูงสุดในการถ่ายปัสสาวะ และ รูปแบบของกราฟที่ออกมาสามารถช่วยแพทย์ได้เบื้องต้นในการวินิจฉัย สามารถจำแนกผู้ป่วยเพื่อเข้าสู่การตรวจที่ซับซ้อนต่อไปได้ และนอกจากนี้ยังมีประโยชน์ในการติดตามผลการรักษา เช่น ความแรงของปัสสาวะที่เปลี่ยนไปภายหลังการให้ยา การเปลี่ยนยา หรือ การผ่าตัด เป็นต้น
การตรวจความแรงของการถ่ายปัสสาวะในผู้ป่วยต่อมลูกหมากโต
ต่อมลูกหมากเป็นอวัยวะที่ห่อหุ้มท่อปัสสาวะส่วนต้นในผู้ชาย ทำหน้าที่สร้างอาหารให้แก่ตัวอสุจิ เมื่อผู้ชายอายุมากขึ้นต่อมลูกหมากจะเปลี่ยนแปลงโดยมีขนาดที่ใหญ่ขึ้นและรัดท่อปัสสาวะแน่นขึ้น ส่งผลให้น้ำปัสสาวะไหลไม่สะดวก ค่าความแรงจากการตรวจจะพบว่ามีค่าที่ต่ำลง ในบางรายที่ค่าต่ำมาก หรือ กราฟมีรูปแบบที่ผิดปรกติมาก ไม่เข้ากับผู้ป่วยต่อมลูกหมากโตทั่วๆไป แพทย์อาจพิจารณาตรวจดูปริมาณปัสสาวะเหลือค้าง หรือ ตรวจทางยูโรพลศาสตร์ที่ซับซ้อนยิ่งขึ้น หรือแม้กระทั่งพิจารณาส่องกล้องตรวจ เพื่อช่วยในการวางแผนการรักษาเพิ่มเติมตามข้อบ่งชี้ สุดท้ายการตรวจความแรงของการถ่ายปัสสาวะยังสามารถนำมาช่วยในการประเมินผลการรักษาได้อีกด้วย
นพ.วิโรจน์ รักษากุล แพทย์ผู้เชียวชาญด้านระบบทางเดินปัสสาวะ
ความผิดปรกติของการถ่ายปัสสาวะที่มักเป็นเหตุให้ผู้ป่วยมาพบแพทย์ ได้แก่ ความแรงของการถ่ายปัสสาวะที่เปลี่ยนไป ซึ่งนอกจากแพทย์จะซักประวัติ และ ตรวจร่างกายแล้ว การการตรวจความแรงของการถ่ายปัสสาวะที่ถือเป็นการตรวจประเมินอัตราการไหลของน้ำปัสสาวะ โดยเทคโนโลยีการตรวจที่ทันสมัย แต่ไม่ยุ่งยากซับซ้อนนี้สามารถแปลงข้อมูลจากการบอกเล่าของผู้ป่วยออกมาเป็นรูปแบบที่มองเห็นได้ ง่ายต่อการวางแผนการรักษา และยังสามารถใช้ในการสื่อสารระหว่างผู้ป่วยกับแพทย์ผู้ให้การรักษาอีกด้วย
การตรวจความแรงของการถ่ายปัสสาวะเหมาะสมกับใคร?
การตรวจความแรงของการถ่ายปัสสาวะมีประโยชน์ในการวินิจฉัย การวางแผนการรักษา และ การติดตามผลการรักษา ในผู้ป่วยหลายกลุ่ม เช่น กลุ่มทางเดินปัสสาวะตีบตัน (โรคต่อมลูกหมากโต ท่อปัสสาวะตีบ เป็นต้น) กลุ่มกระเพาะปัสสาวะพิการ (ผู้ป่วยเบาหวาน โรคทางสมองและไขสันหลัง) กลุ่มการถ่ายปัสสาวะผิดปรกติจากภาวะอุ้งเชิงกรานหย่อนในสตรี เป็นต้น ซึ่งโดยปรกติแล้วผู้หญิงจะมีความแรงในการถ่ายปัสสาวะมากกว่าผู้ชาย กล่าวคือประมาณ 20-25 มิลลิลิตรต่อวินาที ส่วนผู้ชายประมาณ 18-20 มิลลิลิตรต่อวินาที โดยเฉพาะเมื่อย่างเข้าสู่อายุที่มากขึ้น เนื่องมาจากผู้ชายมักประสพกับปัญหาต่อมลูกหมากโต แล้วขวางทางเดินปัสสาวะ ส่งผลให้ปัสสาวะได้เบาลง ไม่ต่อเนื่อง ต้องเบ่ง เป็นต้น และเมื่อไรที่ค่าความแรงของการถ่ายปัสสาวะที่ต่ำกว่า 10 มิลลิลิตรต่อวินาที จะถือว่ามีค่าต่ำผิดปรกติอย่างชัดเจน
การตรวจความแรงของการถ่ายปัสสาวะตรวจยุ่งยากไหม?
การตรวจความแรงของการถ่ายปัสสาวะสามารถทำได้ง่ายๆ โดยเครื่องมือที่ใช้ในการตรวจนี้คือ เครื่อง Uroflowmeter ซึ่งสามารถวัดอัตราการไหลของน้ำปัสสาวะเป็นหน่วย มิลลิลิตรต่อวินาที และยังสามารถบันทึกรูปแบบการไหลออกมาเป็นกราฟเส้นได้อย่างแม่นยำ ชัดเจน ส่วนขั้นตอนในการตรวจนั้นทำได้ง่ายๆไม่ต่างจากการถ่ายปัสสาวะในชีวิตประจำวันของผู้ป่วย กล่าวคือ ผู้ป่วยจะต้องรอให้ปวดปัสสาวะเหมือนกับปรกติ จากนั้นไปถ่ายปัสสาวะเข้าสู่กรวยรับที่วางอยู่ในตำแหน่งเดียวกับโถปัสสาวะแบบนั่งชักโครก จากนั้นผู้ป่วยจึงไปถ่ายปัสสาวะ โดยทั่วไปผู้ป่วยชายจะตรวจในท่ายืน ส่วนผู้หญิงหรือผู้ป่วยที่ไม่สามารถยืนได้ ก็จะตรวจในท่านั่ง จากนั้นเป็นอันเสร็จเรียบร้อย
การตรวจความแรงของการถ่ายปัสสาวะมีประโยชน์อย่างไร
การตรวจความแรงของการถ่ายปัสสาวะมีประโยชน์ในการวินิจฉัย การวางแผนการรักษา โดยค่าความแรงสูงสุดในการถ่ายปัสสาวะ และ รูปแบบของกราฟที่ออกมาสามารถช่วยแพทย์ได้เบื้องต้นในการวินิจฉัย สามารถจำแนกผู้ป่วยเพื่อเข้าสู่การตรวจที่ซับซ้อนต่อไปได้ และนอกจากนี้ยังมีประโยชน์ในการติดตามผลการรักษา เช่น ความแรงของปัสสาวะที่เปลี่ยนไปภายหลังการให้ยา การเปลี่ยนยา หรือ การผ่าตัด เป็นต้น
การตรวจความแรงของการถ่ายปัสสาวะในผู้ป่วยต่อมลูกหมากโต
ต่อมลูกหมากเป็นอวัยวะที่ห่อหุ้มท่อปัสสาวะส่วนต้นในผู้ชาย ทำหน้าที่สร้างอาหารให้แก่ตัวอสุจิ เมื่อผู้ชายอายุมากขึ้นต่อมลูกหมากจะเปลี่ยนแปลงโดยมีขนาดที่ใหญ่ขึ้นและรัดท่อปัสสาวะแน่นขึ้น ส่งผลให้น้ำปัสสาวะไหลไม่สะดวก ค่าความแรงจากการตรวจจะพบว่ามีค่าที่ต่ำลง ในบางรายที่ค่าต่ำมาก หรือ กราฟมีรูปแบบที่ผิดปรกติมาก ไม่เข้ากับผู้ป่วยต่อมลูกหมากโตทั่วๆไป แพทย์อาจพิจารณาตรวจดูปริมาณปัสสาวะเหลือค้าง หรือ ตรวจทางยูโรพลศาสตร์ที่ซับซ้อนยิ่งขึ้น หรือแม้กระทั่งพิจารณาส่องกล้องตรวจ เพื่อช่วยในการวางแผนการรักษาเพิ่มเติมตามข้อบ่งชี้ สุดท้ายการตรวจความแรงของการถ่ายปัสสาวะยังสามารถนำมาช่วยในการประเมินผลการรักษาได้อีกด้วย
นพ.วิโรจน์ รักษากุล แพทย์ผู้เชียวชาญด้านระบบทางเดินปัสสาวะ